“ไหว้” มีที่มาอย่างไร

“ไหว้” มีที่มาอย่างไร การไหว้นั้นเป็นมารยาทของไทยเราที่มีการสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงการมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา 

โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

“ไหว้” มีที่มาอย่างไร

ระดับในการไหว้

การประนมมือไหว้นั้น ฝ่ามือทั้งสองข้างจะต้องทาบทับกัน ปลายนิ้วทาบสนิทกัน ทำหลังมือให้โป่งออกเล็กน้อย ไม่ต้องมากเป็นดอกบัวตูมและไม่แบนราบเป็นใบไม้ จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

  1. การไหว้พระ

ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ

  1. การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวโส

เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว

  1. การไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน

ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ

การไหว้นั้นนับว่าเป็นวัฒนธรรมของไทย ที่เอกลักษณ์ของไทย ทั้งนี้การไหว้นั้นยังเป็นการแสดงถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกัน เมื่อเจอญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่อาวุโสกว่า ก็แสดงความเคารพโดยการไหว้ 

“ไหว้” มีที่มาอย่างไร

ซึ่งการไหว้นั้นยังสามารถบ่งบอกถึงการได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่ ไปไหนมาไหนต้องรู้จักการไหว้ หรือดั่งคำที่ีกล่าวว่า “ไปลา มาไหว้” นับว่าเป็นวัฒนธรรมการไหว้ที่ควรสืบทอดเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นเสมือนอัตลักษณ์ของประเทศไทยเรา เพราะไทยเรานั้นเป็นดั่งสยามเมืองยิ้ม ผู้คนรู้จักยิ้มให้กัน รู้จักเคารพซึ่งกันและกัน

วัฒนธรรมในเรื่องของการไหว้นั้น มีความเป็นมาอย่างไร ไม่มีหลักฐานที่ระบุไว้แน่ชัด นายพะนอม แก้วกำเนิด อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ได้ให้ความเห็นว่า การไหว้นั้นเกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ที่จะแสดงความรัก ความเคารพต่อกัน 

เนื่องจากมนุษย์มีสมอง มีพัฒนาการที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จึงมีความคิดว่าทำอย่างไรจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จะกินอาหารอย่างไรจึงจะดีต่อสุขภาพ แต่งตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม ที่อยู่อาศัยทำอย่างไรจึงจะปลอดภัย 

รวมไปถึงเมื่อเจอกันจะทักทาย จะแสดงความรักต่อกันอย่างไรดี โดยธรรมชาติแล้วการสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวกัน เป็นภาษาท่าทางที่แสดงออกถึงความรักที่มีต่อกัน สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขหรือแมวมักจะแสดงความรักกับเจ้าของด้วยการเข้ามา สัมผัสคลอเคลียด้วย มนุษย์ก็เช่นกันที่มีการแสดงความรักต่อกันด้วยการโอบกอด 

“ไหว้” มีที่มาอย่างไร

หลายประเทศทางยุโรปใช้การสัมผัสมือเมื่อพบกัน บางประเทศใช้แก้มสัมผัสกัน ใช้หน้าผากสัมผัสกัน หรือใช้จมูกสัมผัสกันก็มี แต่ทางแถบเอเชียนั้นการสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวผู้อื่นนั้นถือว่าไม่สุภาพนัก คนทางแถบเอเชียจึงใช้การสัมผัสตัวเองเป็นการแสดงการทักทายหรือทำความเคารพ 

เช่น ชาวจีนใช้มือทั้งสองข้างสัมผัสกันเพื่อแสดงการคารวะ  อินเดีย ใช้ฝ่ามือทั้งสองประนมประกบกันเหมือนดอกบัวตูม เพื่อแสดงความเคารพและบูชา ของไทยเราน่าจะรับวัฒนธรรมนี้มาจากอินเดีย นำมาปรับปรนให้เหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทยจึงเกิดเป็นวัฒนธรรมการไหว้ที่แบ่ง เป็นระดับต่างๆ ขึ้นมา โดยใช้มือกับใบหน้าเป็นตัวแบ่งระดับ 

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ QuotesAboutSmile และ Keywordsfun